บริษัท พยัคฆ์ เพาเวอร์ คอร์ป จำกัด > NEWS > โซล่าเซลล์คืออะไร? มาทำความรู้จักโซล่าเซลล์ กันเถอะ

โซล่าเซลล์คืออะไร? มาทำความรู้จักโซล่าเซลล์ กันเถอะ

ทำไมถึงต้องใช้โซล่าเซลล์ ?
โซล่าเซลล์ (Solar cell) เป็นอีกหนึ่งการพัฒนาที่สรรสร้างคุณประโยชน์มากมายให้ผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นลดค่าไฟ สามารถคืนทุนได้ในอนาคต ใช้พลังงานจากธรรมชาติ ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะแก่โลก และที่เลิศสุดๆคือสามารถขายไฟให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคหรือการไฟฟ้านครหลวง กลับคืนมาเป็นเงินได้อีกด้วย!????

โซล่าเซลล์ คือ ?
เครื่องผลิตไฟฟรีจากพลังงานแสงอาทิตย์นั่นเอง???? โดยพลังงานไฟฟ้านี้ จะเป็นพลังงานไฟฟ้าแบบกระแสตรง DC ที่มีขั้วบวก + ขั้วลบ –

โซล่าเซลล์ ทำมาจากอะไร ?
โซล่าเซลล์ ทำมาจาก ดิน หิน ทราย โดยการนำเอา ดิน หิน ทราย ไปสกัดคัดแยกเอาธาตุซิลิกอนบริสุทธิ์ (Si) ออกมา หลังจากนั้นก็นำเอาธาตุซิลิกอนบริสุทธิ์ไปเข้าสู่กระบวนการการผลิตให้เป็นแผ่นโซล่าเซลล์ตั้งต้น เสร็จแล้วก็นำแผ่นโซล่าเซลล์ตั้งต้นหลายๆแผ่นมาประกอบเข้าด้วยกันกลายเป็น “แผงโซล่าเซลล์ (Solar Cell) ”

ประเภทของแผงโซล่าเซลล์
แบบโมโนคริสตัลไลน์ ซิลิกอน(Monocrystalline Silicon) หรือโมโน(Mono)
แผงโซล่าเซลล์ แบบโมโน เป็นแผงโซล่าเซลล์ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด แผงโซล่าเซลล์ชนิดโมโนทำมาจากแท่งซิลิกอนที่มีความบริสุทธิ์สูง โดยเริ่มมาจากการกวนให้ผลึกเกาะกันที่แกนกลาง จึงทำให้เกิดแท่งทรงกระบอก จากนั้นนำมาตัดให้เป็นสี่เหลี่ยมและลบมุมทั้ง 4 ออกเพื่อที่จะทำให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด

จุดสังเกต แผงโซล่าเซลล์แบบโมโน จะมีรอยจุดต่อกันระหว่างแผ่นโซล่าเซลล์
ข้อดี เป็นแผงโซล่าเซลล์ที่มีประสิทธิภาพแผงสูงที่สุด ประสิทธิภาพเฉลี่ยอยู่ที่ 18-21% สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากกว่าชนิดโพลีคริสตัลไลน์(Polycrystalline) ประหยัดพื้นที่ เนื่องจากแผงชนิดนี้ ผลิตพลังงานสูงสุดจึงใช้พื้นที่จำนวนน้อยที่สุด เมื่อเทียบกับชนิดอื่นๆ
ข้อเสีย ราคาสูงและแผงโซล่าเซลล์แบบโมโน มีแนวโน้มจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นในสภาพอากาศเย็น และประสิทธิภาพลดลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น

แบบโพลีคริสตัลไลน์ ซิลิกอน(Polycrystalline Silicon) หรือโพลี (Poly)
แผงโซล่าเซลล์แบบโพลี เป็นแผงโซล่าเซลล์ที่คุณภาพเกือบเทียบเท่าแบบโมโนคริสตัลไลน์ ทำมาจากซิลิกอนเช่นเดียวกับแบบโมโน แต่ชนิดของซิลิกอนที่ใช้นั้นบริสุทธิ์น้อยกว่าแบบโมโน

จุดสังเกต แผงโซล่าเซลล์แบบโพลี จะมีลักษณะเป็นช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าเรียงต่อกัน
ข้อดี กระบวนการที่ใช้ในการผลิตโพลีคริสตัลไลน์ซิลิกอนนั้นง่ายกว่า มีประสิทธิภาพในการใช้งานในที่มีอุณหภูมิสูง ดีกว่าชนิดโมโนและมีราคาที่ถูกกว่าชนิดโมโน(Mono)
ข้อเสีย ประสิทธิภาพเฉลี่ยอยู่ที่ 15-18% ซึ่งน้อยกว่าแบบโมโน ใช้พื้นที่มากกว่าแบบโมโน เนื่องจากผลิตไฟได้น้อยกว่าเล็กน้อย

แบบอะมอร์ฟัส (Amorphous)
กระบวนการผลิตแผงโซล่าเซลล์ แบบอะมอร์ฟัส แตกต่างจากแบบโมโนและโพลีโดยสิ้นเชิง กระบวนการผลิตฟิลม์บางเป็นเทคโนโลยีที่ค่อนข้างใหม่ มีใช้อยู่ประมาณ 5% ในตลาด แผงโซล่าเซลล์แบบฟิลม์บาง ได้รับความนิยมในโซล่าฟาร์มขนาดใหญ่ แต่พบได้น้อยในตลาดที่อยู่อาศัย ประสิทธิภาพเฉลี่ยในการผลิตพลังงานคือ 7-13%

จุดสังเกต แผงโซล่าแบบอะมอร์ฟัส จะมีลักษณะเป็นแผ่นฟิลม์บางเรียบ ไปตลอดทั้งแผ่น
ข้อดี การผลิตจำนวนมากนั้นทำได้ง่าย ทำให้มีราคาถูกกว่าการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ที่ใช้ผลึก ทำงานได้ดีในสภาพแสงน้อย
ข้อเสีย แบบอะมอร์ฟัสเป็นแผงโซล่าเซลล์ ที่มีประสิทธิภาพในการผลิตไฟได้น้อยที่สุด

1.ระบบออนกริด (On-grid)
ระบบออนกริดไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ เนื่องจากระบบนี้จะเชื่อมต่อกับการไฟฟ้า โดยมีการใช้ไฟจากโซล่าเซลล์และไฟจากการไฟฟ้า ระบบนี้จะมีไฟใช้ตลอดเวลา เพราะไฟฟ้าจากระบบการไฟฟ้าหรือไฟบ้าน จะไหลเข้ามาเสริมพลังงานจาก solar cell ที่หายไปตลอดเวลา ไฟฟ้าที่ผลิตเหลือจากการใช้ในแต่ละวัน สามารถขายคืนให้กับทางภาครัฐได้ ทางผู้ใช้จะต้องทำสัญญากับทางภาครัฐตามขั้นตอน

ระบบนี้เป็นระบบที่นิยมใช้มากที่สุด ทั้งบ้านและภาคธุรกิจ รวมไปถึงโรงงานอุตสาหกรรม เพราะเน้นการใช้งานโซล่าเซลล์ในเวลากลางวัน และตอนกลางคืนสลับไปใช้ไฟจากการไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันเป็นทางเลือกที่คุ้มค่าที่สุดสำหรับผู้ที่สนใจติดตั้งระบบโซล่าเซลล์

2.ระบบออฟกริด (Off-grid) หรือระบบอิสระ
ระบบออฟกริดจะไม่เชื่อมต่อกับสายของการไฟฟ้าฯ เหมาะสำหรับพื้นที่ที่การไฟฟ้าเข้าไม่ถึง หรือต้องการใช้เพื่อสำรองไฟไว้ใช้เมื่อยามที่ไฟฟ้าดับ สามารถใช้ร่วมกับแบตเตอรี่หรือไม่ร่วมกับแบตเตอรี่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับการใช้งานของผู้ใช้งาน ในกรณีที่ใช้ร่วมกับแบตเตอรี่กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านตัว Charge controller เพื่อเก็บกระแสไฟฟ้าไว้ในแบตเตอรี่ ในช่วงกลางวันที่มีแสงอาทิตย์เพียงพอ

กระแสไฟฟ้าโซล่าเซลล์จะสามารถผลิตไฟฟ้ากระแสตรง (DC) และใช้ Inverter(อินเวอร์เตอร์) แปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) เพื่อนำไปใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน และส่วนที่ผลิตเกินออกมาจะถูกนำไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่ ในเวลากลางคืนระบบก็จะใช้กระแสไฟฟ้าที่เก็บไว้ในแบตเตอรี่

ระบบออฟกริด จำเป็นต้องอาศัยการคำนวณที่ถูกต้องของปริมาณการใช้ไฟฟ้าของบ้าน เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้งานในประจำวัน หรือแม้แต่ในฤดูที่มีแสงแดดน้อย ในกรณีที่แบตเตอรี่เก็บไฟฟ้าได้ไม่เพียงพอต่อการใช้ ซึ่งอาจจะมาจากสาเหตุ ฝนตก ท้องฟ้ามืดครึ้ม

3.ระบบไฮบริด (Hybrid System)
ระบบนี้คือการนำเอาระบบออฟกริดและระบบออนกริดเข้ามารวมกัน ระบบไฮบริดนี้มีความเสถียรมาก เนื่องจากเสมือนมีแหล่งจ่ายไฟ 3 แหล่ง (โซล่าเซลล์ + แบตเตอรี่ + ไฟฟ้าจากการไฟฟ้า) คอยช่วยกันจ่ายไฟ หน้าที่ของแบตเตอรี่จะมาช่วยสำรองพลังงาน เมื่อแผงโซล่าร์เซลล์ได้รับพลังงานแสงอาทิตย์ จะแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง (DC) แล้วส่งต่อมายังไฮบริดอินเวอร์เตอร์ ซึ่งไฮบริดอินเวอร์เตอร์ก็แปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ซึ่งก็จะเชื่อมต่อกับระบบจำหน่ายไฟของการไฟฟ้าฯ และอีกขั้วหนึ่งก็ต่อเข้ากับแบตเตอรี่

ส่วนอีกขั้วหนึ่งก็ต่อไฟฟ้าไปใช้งานต่างๆ เมื่อระบบผลิตกระแสไฟฟ้าเกินจากปริมาณใช้งานภายในบ้าน กระแสไฟฟ้าที่เกินนั้น จะถูกนำไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่จนเต็มความจุก็จะหยุด และจะจ่ายไฟฟ้าเพื่อนำไปใช้กับอุปกรณ์ภายในบ้านอีกครั้ง ระบบนี้ยังมีการใช้งานที่น้อย เนื่องจากใช้เงินลงทุนและมีค่าซ่อมบำรุงสูง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save